วัดราชคีรีหิรัญญาราม(วัดเจ้าแม่กวนอิมหยกขาว)

ตั้งอยู่ที่บ้านสมอแคลง ในเขตอำเภอวังทอง เดินทางจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามทางหมายเลข 12 (เส้นทางสายพิษณุโลก-หล่มสัก) ประมาณ 14 กิโลเมตร (ก่อนถึงอำเภอวังทอง 3 กิโลเมตร) มีทางแยกซ้ายขึ้นเขาไปอีกประมาณ 300 เมตร  

เดิมทีเป็นวัดที่สร้างมานานแล้ว ไม่มีประวัติว่าสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด โดนปล่อยท้ิงให้ร้าง และได้มีการพัฒนาวัดขึ้นมาใหม่ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยกระทรวงศึกษาธิการกรมการศาสนา ได้ออกหนังสือรับรองสภาพความเป็นวัดให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ความว่า   "เป็นวัดที่สมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑" 

เป็นที่ประดิษฐาน “องค์พระแม่กวนอิมหยกขาว” ที่ว่ากันว่า ใหญ่ที่สุดในโลก พระแม่กวนอิมหยกขาว แกะจากหินหยกใต้ทะเลสาป มณฑลกว่างซี ประเทศจีน เป็นปางพิเศษที่ได้รับอนุมัติให้สร้างโดยรัฐบาลจีนโดยใช้ต้นแบบจากวัดเจ้า แม่กวนอิมเมืองหางโจว มีขนาดสูง 3 เมตร หนัก 3 ตัน มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้

ประวัติ

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์พระราชปรารภ เรื่องพระพุทธและมีข้อความที่กล่าวถึงวัดราคีรีหิรัญญาราม โดยมีใจความว่า

  "พระพุทธเจ้าได้เสด็จบิณฑบาทไปถึงที่นั้น แล้วหยุดฉันท์ที่ใต้ต้นสมอ ที่เขาสมอแคลง ซึ่งเดิมเรียกว่าพนมสมอ ควรจะเป็นที่ตั้งพระพุทธศาสนา จึงมีรับสั่งให้จ่านกร้องและจ่าการบุญ คุมกำลังไพร่พลและเสบียงอาหารมาตรวจดูภูมิสถานแถบนั้น เมื่อจ่าทั้งสองได้ลงมาถึงที่ๆ ซึ่งกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ไปบิณฑบาตเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่ดี เหมาะแก่การที่จะสร้างเมืองใหม่ จึงได้มีใบบอกขึ้นไปกราบทูลพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้ากรุงเชียงแสนและเจ้ากรุงศรีสัชชนาลัย พระเจ้าพสุจราช พระบิดาพระนางปทุมมาวดี เอกอัครมเหสีของพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ทั้งสองพระองค์ได้ทรงร่วมกันสร้างเมืองขึ้นมาใหม่เมื่อปี พ.ศ.๑๔๙๖ ตรงเช้าวันศุกร์ขึ้น ๑ ค่ำ ๓ ร.ศ.๓๑๕ และให้ชื่อเริ่มแรกเมืองนั้นว่า เมืองพิษณุโลกโอฆะบุรี นับได้ว่าเป็นชะตาดวงเมืองของพิษณุโลก ตั้งแต่นั้นมาจึงถึงปัจจุบัน โดยอาศัยเหตุดังกล่าวมา"

 ด้วยเหตุดังพระราชนิพนธ์ในราชกาลที่ ๕ ได้ทรงกล่าวถึง วัดเขาสมอแคลง อันมีพระเถระผู้ใหญ่ พระอุบาฬี และพระศิริมานนท์ ได้รับอาราธนามาเป็นประธานการสวดพระปริตและพระพุทธมนต์ถึงสองครั้งย่อมแสดง ให้เห็นว่า วัดเขาสมอแครงนั้นมีความสำคัญยิ่งในสมัยนั้น ในปัจจุบันวัดที่เป็นวัดถูกต้องตามหลักการครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ก็มีอยู่เพียงวัดเดียวที่ตั้งอยู่บนเขาสมอแครง คือ วัดราชคีรีหิรัญยาราม มีเนื้อที่เขตวัดในปัจจุบันประมาณ 230 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา โดยสภาพ ถูกกาลเวลากลืนกินไปตามกาลรวมทั้งคนใจบาปได้ขึ้นมาขุดทำลายโบสถ์, วิหาร, เจดีย์ต่างๆ เสียหายสิ้นสภาพหมด เพื่อจะขุดค้นหาวัตถุมงคลที่เรียกว่า "พระสมเด็จนางพญา" เท่านั้น


วิหารเก่าแก่ เข้ามาในซุ้มประตูขับเข้ามาเรื่อยๆ ตามทางจะถึงลานจอดรถ ก่อนจะมาถึงตรงนี้จะเห็นอาคารสิ่งก่อสร้างหลายสิ่งหลายอย่างที่ล้วนแล้วแต่ มีอายุหลายสิบปี หลายแห่งก็ปิดและงดใช้ไปแล้ว วิหารที่เห็นอยู่นี้ก็เช่นเดียวกัน ทางวัดกำลังดำเนินการรวบรวมทุนเพื่อบูรณะและสร้างอาคารหลายแห่งขึ้นมาใหม่ แต่อาคารวิหารเก่าแห่งนี้ทำให้เห็นถึงกระแสศรัทธาที่มีมายังวัดราชคีรีหิรัญ ยาราม อย่างไม่ขาดสายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
 
 วิหารเจ้าแม่กวนอิมหยกขาว เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. 2535 ได้มีการอัญเชิญพระโพธิสัตว์กวนอิม ซึ่งแกะสลักจากหินทะเลสาบหยกขาวจากเมืองหางโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นปางพิเศษที่ได้รับอนุมัติให้สร้างโดยรัฐบาลจีนโดยใช้ต้นแบบจากวัดเจ้า แม่กวนอิมเมืองหางโจว มีขนาดสูง 3 เมตร หนัก 3 ตัน มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ ปัจจุบันมีการสร้างวิหารในลักษณะระเบียงคดล้อมรอบเป็นรูปแปดเหลี่ยม อยู่ห่างจากวิหารเก่าเล็กน้อย เมื่อตั้งใจเดินทางมาที่วัดราชคีรีหิรัญยารามหลายคนก็เข้ามาสักการะไหว้เจ้า แม่กวนอิม ด้วยการจุดธูป 5 ดอก กับน้ำ 5 ขวด แล้วลานำน้ำนั้นกลับไปเป็นสิริมงคล

 

 

พระบรมมหาโพธิสัตว์พระแม่กวนอิมหยกขาว ความสูง ๓ เมตร ๕ เซนติเมตร น้ำหนัก ๓ ตัน หรือ ๓,๐๐๐ กิโลกรัม นับได้ว่าเป็นหินทะเลหยกขาวองค์เดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และแกะสลักสำเร็จรูป วัดสำนักนางชี ซึ่งบนเทือกไหล่เขาทะเลสาบเวสเลค ใกล้กับวัดหลิงหลินซื่อ วัดที่สำคัญของเมืองหังโจว เป็นวัดบ้านเกิดของพระอรหันต์จี้กง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

 

เคยมีผู้เฒ่าเล่าตำนานความเป็นมาของเขาสมอแคลงให้ได้ฟังว่า   สมัยก่อนใกล้ๆ กับเขาสมอแคลงเคยมีเมืองที่มีชื่อว่า ‘ราชนก’  ตั้งอยู่    แต่ต่อมาเกิดอาเพท ผืนดินยุบลงเมืองจมหายกลายเป็นบึงน้ำใหญ่ (พื้นที่บึงราชนกในปัจจุบัน) หนุมานซึ่งเป็นคนรักของพระราชธิดาเมืองราชนก ทราบข่าวจึงรีบเหาะขึ้นไปหักยอดเขาฟ้าหวังจะมาถมบึงให้กลับคืนมาเป็นผืนพระนครอีกครั้ง      แต่ก็มาช้าเกินไปพระราชธิดาพระองค์นั้นได้สิ้นพระชนม์ลงไปเสียแล้ว  ด้วยความเสียใจจึงโยนยอดเขาฟ้าที่หักมาทิ้งไปหล่นตะแคงอยู่กลางทุ่ง จากยอดเขาฟ้าจึงกลายมาเป็นเขาสมอแคลงนับแต่บัดนั้น


(“สมอ-แคลง” สันนิษฐานว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า ‘ถมอ’ ในภาษาเขมรที่แปลว่า ก้อนหิน   ส่วน ‘แคลง’ หมายถึง ตะแคง)

ชมวิวบนเขาสมอแคลง ที่เห็นอยู่นี้เป็นอีกวัดคือวัดคลองเรือ เป็นวัดหนึ่งที่อยู่พื้นราบเชิงเขาห่างออกไป กับท้องทุ่งนากว้างใหญ่ เจดีย์กับพระพุทธรูปองค์ใหญ่มากๆ ที่เบื้องล่างโดดเด่นอยู่กลางธรรมชาติสีเขียว นอกจากที่วัดราชคีรีหิรัญยารามจะปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านหลังวิหารพระแม่กวนอิมให้มองเห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามจากบนเขาสมอแคลงแล้วยังมีจุดชมวิวบนยอด เขาแห่งนี้ซึ่งต้องเดินทางขึ้นเขาต่อไปอีก

หอฉันหอสวดมนต์ เป็นกลุ่มอาคารที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความสวยงามมากแม้ว่าจะยังสร้างได้เพียงบางส่วนแต่ก็พอจะดูออกว่าหากสร้าง เสร็จแล้วจะเป็นหอฉัน และหอสวดมนต์ที่สวยงาม อยู่ข้างวิหารพระแม่กวนอิมหยกขาว

ลานพระสิวลี อยู่ข้างหอฉัน แท่นพระสิวลีสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วและยังคงมีการก่อสร้างตกแต่งบริเวณโดย รอบเมื่อเสร็จแล้วก็จะเป็นสถานที่ที่สวยงามมากอีกเช่นกัน จุดเด่นของแท่นพระสิวลีนั้นอยู่ที่บันไดพญานาคที่มีลวดลายปราณีตอ่อนช้อยราย ละเอียดสวยงามทุกส่วน

วิหารพุทธรรม สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รักษาศีลฟังธรรม เฉลิมพระชนมายุ 7 รอบ 84 พรรษา วิหารหลังนี้มีขนาดกว้างใหญ่ แต่ไม่สูงอยู่หลังลานพระสิวลีไปไม่ไกลมองด้านนอกเห็นเป็นอาคารเรียบๆ เดี๋ยวจะพาเข้าไปชมด้านในครับ

พระสิวลี ท้ายสุดของการชมวัดราชคีรีหิรัญยาราม บนเขาสมอแคลง ซึ่งมีหลายอย่างที่กำลังบูรณะและก่อสร้างขึ้นมาใหม่ สถานที่ทุกแห่งในวัดล้วนแล้วแต่สร้างด้วยความปราณีต สวยงามทุกหลังชมรอบบริเวณวัดและไหว้พระกันแล้วก็เดินทางกลับจบด้วยภาพพระ สิวลีด้านข้างนี้เป็นภาพสุดท้ายครับ เดี๋ยวถ้ามีการอัพเดตค่อยไปเก็บภาพกันใหม่ เพียงเท่านี้ก็เห็นความสวยงามของวัดราชคีรีหิรัญยารามกันอย่างเต็มที่แล้ว มีโอกาสไปพิษณุโลกอย่าลืมลองแวะไปดูนะครับ

การเดินทางมายังวัดคีรีหิรัญยารามมีทางโค้งลาดชันขึ้นเขาเพียงไม่ไกลนักก็มาถึง ประตูวัด บนเขาสมอแคลง ซุ้มประตูวัดเขาสมอแคลงทำให้เห็นได้ชัดว่าเป็นวัดเก่าแก่มากแห่งหนึ่ง เสาของซุ้มประตูทั้ง 2 ข้างมียักษ์ทวารบาลยืนประจำอยู่ และทำเลที่ตั้งของวัดอยู่บนเขาสมอแคลง ทำให้เกิดความสับสนว่าเป็นวัดเดียวกันกับวัดเขาสมอแคลง ซึ่งอยู่ไม่ห่างกันมากนัก หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า วัดพระพุทธบาทเขาสมอแคลง จึงเกิดความสับสนกันได้ง่าย และเนื่องจากมีวัด 2 วัดเป็นคนละแห่งกัน จึงขอเรียกวัดราชคีรีหิรัญยาราม ไม่ใช้คำว่า "หรือวัดเขาสมอแคลง" ต่อท้าย

สถานที่ใกล้เคียง : โรงเจไซทีฮุกตึ้ง เจ้าพ่อเห้งเจีย, วัดพระพุทธบาทเขาสมอแคลง

ที่มา: www.touronthai.comwww.oknation.net , phitsanulok.modify.in.th , www.weekendhobby.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น