วัดอรัญญิก





สถานที่ตั้ง
อำเภอ เมือง จังหวัดพิษณุโลกวัดอรัญญิก ตั้งอยู่ที่หมู่ 6 บ้านหนองปลาค้าว ต. อรัญญิก อ. เมือง จังหวัดพิษณุโลกภายในบริเวณวัดมีเจดีย์เก่าแก่ที่มีอายุหลาย 100 ปี
 
ประวัติความเป็นมา เป็นวัดโบราณสมัยกรุงสุโขทัย สร้างนอกกำแพงเมือง ประมาณ 1 กิโลเมตร ตามความนิยมของการสร้างวัด ในสมัยกรุงสุโขทัย ที่นิยมสร้างวัดในป่าและ ให้ชื่อว่า "อรัญญิก" เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองพิษณุโลกที่ยังรักษารูป แบบสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัยไว้อย่างดีเยี่ยม

วัดอรัญญิก หรือ วัดป่าแก้ว เป็นวัดอรัญวาสี ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย เชื่อว่าสร้างช่วงเดียวกันกับที่สร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ที่ชาวเมืองเรียกว่า วัดใหญ่ซึ่งเป็นวัดคามวาสี วัดอรัญญิกเป็นวัดอรัญวาสีที่ไว้ปฏิบัติวิปัสสนา เป็นราชนิยมเกี่ยวกับศาสนา สมัยพระมหาธรรมราชาที่1(ลิไท)600กว่าปีที่ได้อิทธิพล ของลังกาวงศ์เข้ามา 

หากได้เดินทางมาบนถนนพญาเสือ มองลอดซุ้มประตูที่มีความหมาย จะเห็นเจดีย์ประธานตระหง่านนทรงลังกาบนฐานเขียง4เหลี่ยม ที่มีช้างล้อมรอบทั้งสิ้น 68เชือก ทิศละ16และมุม4มุมอีก4เชือก ที่สำคัญอดีตมีพระยืนในซุ้ม 8ทิศ ที่ปัจจุบันไม่ได้จำลองไว้ อย่างน่าเสียดาย มีแนววิหารคดล้อมรอบทางทิศตะวันออกมีฐานวิหารและชุกชี ,เสา เจดีย์รายและอุโบสถ์ทิศตะวันตกเฉียงเหนือยังมีพระประดิษฐานอยู่ ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีศาลาไม้ถือว่าขนาดใหญ่ที่เมื่อกว่า20ปียังใช้อยู่

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
1. มีคูน้ำล้อมรอบเนินดิน ตามแบบวัดอรัญญิก ในสมัยสุโขทัย
2. ซากอุโบสถ พบซากใบเสมาหินศิลปสมัยสุโขทัย พระพุทธรูปศิลปเชียงแสน สุโขทัย และอยุธยา
3. เจดีย์ ในลานวัดมีเจดีย์องค์ประธานทรงลังกา มีฐานลักษณะกลม องค์ระฆังเหลือครึ่งซีกจนถึง บัลลังก์ พบร่องรอยบูรณะใหม่ จึงทำให้มีรูป แบบผสมผสาน การกำหนดอายุจึงยังไม่แน่นอน
 
 
เอกลักษณ์
-มีอุทกเสมา หรือคูน้ำล้อมรอบแบบสุโขทัยปัจจุบันเป็นเขตอภัยทานที่มีเสน่ห์ วันลอยกระทงผู้คนนิยมไปลอยเสมือนว่าได้ลอยในน้ำที่ๆมีความเก่าสมัยอดีตแรก เริ่มประเพณีอันงดงามของไทย 
-และเป็นเขตอภัยทานของสัตว์น้ำต่างๆโดยเฉพาะเต่าและตะพาบที่ให้ความตื่นเต้นอย่างยิ่งกับพฤติกรรมที่ต้องอาบแดดเพื่อ ให้กระดองแห้งไม่เน่า เช่นเดียวกับมนุษย์ที่ต้องอาบน้ำ เต่าจะขึ้นมาอาบแดดทุกวันบนถนน ,บนหัวตอหรือซากกิ่งไม้ ในน้ำ เสมือนว่าเต่า
สามารถปีนต้นไม้ได้  


เส้นทางเข้าสู่วัดอรัญญิก
จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ไปทาง ทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวง สายพิษณุโลก - วังทอง ข้ามสะพานสูงรถไฟ เลี้ยวซ้าย ตรงสี่แยกมีสัญญาณไฟ และเลี้ยวขวาอีกประมาณ 50 เมตร


อ้างอิง >>

mahapanus.blogspot.com , http://kanchanapisek.or.th/kp8/culture/psl/phis125.html ,
        http://www.phitsanulokhotnews.com/2012/11/29/27868

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น