วัดตาปะขาวหาย



วัดตาปะขาวหาย ตั้งอยู่เลขที่ ๔๖ หมู่ ๔ อำเภอหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 
สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย 
เป็นวัดเก่าแก่ได้ก่อสร้างวัดขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดแต่ สันนิษฐานตามโบราณสถานและปูชนียวัตถุที่ปรากฏมีอยู่คือ เตาสมัยโบราณคงจะก่อสร้างวัดขึ้นในราว พ.ศ. ๑๙๐๐ มีเนื้อที่ดินจำนวน ๒๒ไร่ ๑ งาน ๒๕ ตารางวาเศษ

มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ        ติดต่อกับโรงเรียนตาปะขาวหาย                             
ทิศใต้            ติดต่อกับสถานแลกรับเด็กและเยาวชนกระทรวงยุติธรรมจังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลหัวรอ      
ทิศตะวันตก   ติดต่อกับแม่น้ำนาน




เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดเตาไห เพราะเป็นหมู่บ้านที่ปั้นเตาและไห และสันนิษฐานว่าหมู่บ้านเตาไหบ้านหม้อเป็นบ้านที่ปั้นไหแล้วส่งมาเผาที่บ้านเตาไหเพราะชาว ออสเตรเลียได้สำรวจพบว่าที่วัดตาปะขาวหาย ปัจจุบันพบว่ามีเตาเก่ารุ่นก่อนชะเลียงของสุโขทัย มีประมาณ ๕๐ เตาเรียงเป็นแถวยาว บางเตาก็มีลักษณะซ้อนกันแสดงให้เห็นถึงผิวโลกเคลื่อนที่ซึ่งต้องใช้เวลาอันยาวนาน
 ท่าน้ำที่วัดเก่าจมใต้น้ำ และบริเวณวัด

ประวัติความเป็นมา:

เป็นตำนานสืบเนื่องมาจาการสร้างพระพุทธชินราชตามพงศาวดารเมื่อราว พ.ศ.๑๙๐๐ (จากการสันนิษฐานตามโบราณสถานและปูชนียวัตถุที่ปรากฏมีอยู่คือ เตาสมัยโบราณ) โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยได้ส่งช่างพราหมณ์ฝีมือดี ๕ นาย พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกโปรดให้ช่างเชียงแสนและช่างหริภุญไชยสมทบกับช่างจากกรุงศรี สัชนาลัยช่วยกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ๓ องค์ มีทรวดทรงสัญฐานคล้ายกันคือ พระองค์ที่ ๑ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า พระพุทธชินราช  พระองค์ที่ ๒ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า พระพุทธชินสีห์ พระองค์ที่ ๓ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า พระศรีศาสดา” 

โบสถ์และวิหาร

 ราว พ.ศ.๑๘๙๘ ได้มงคลฤกษ์กระทำพิธีเททองหล่อพระ พุทธรูปทั้ง ๓ องค์และเมื่อเททองหล่อเสร็จแล้วกระทำการแกะพิมพ์ ออกปรากฏว่าพระองค์ที่ ๒ คือ พระพุทธชินสีห์ และองค์ที่ ๓ คือ พระศรีศาสดาองค์พระบริบูรณ์ดี มีน้ำทองแล่นติดตามเสมอกันสวยงาม ๒ องค์เท่ากัน ส่วนพระพุทธชินราชนั้นทองแล่นติดไม่เต็มองค์ไม่บริบูรณ์ นับว่าเป็นที่อัศจรรย์ของช่างและผู้มาร่วมพิธีอันมาก ช่างได้ช่วยกันทำหุ่นและเททองหล่อ อีก ๓ ครั้งก็ไม่สำเร็จเป็นองค์พระได้คือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ทรงรู้สึกประหลาดพระทัยยิ่งนักพระองค์จึงทรงตั้งสัตยาธิฐานเสี่ยงเอาบุญ บารมีของพระองค์เป็นที่ตั้ง อีกทั้งยังขอให้ทวยเทพยดาจึงด้วยดลใจให้สร้างพระพุทธรูปสำเร็จตามพระประสงค์ เถิดแล้วให้ช่างปั้นหุ่นใหม่อีกหนึ่งในครั้งนี้ปรากฏว่ามี ตาปะขาวคนหนึ่ง ไม่มีผู้ใดทราบว่าชื่อใดมาจากที่ไหนได้เข้ามาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททอง ทำการงานอย่างแข็งแรง ทั้งกลางวันและกลางคืนจนเสร็จโดยไม่ยอมพูดจากับผู้ใด


หอระฆังใหม่และหอระฆังเก่า


นับเวลาห่างจากครั้งแรกเป็นเวลา ๒ ปี นพศก จุลศักราช ๗๑๙ ก็ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราชคราวนี้ทองก็แล่นเต็มบริบูรณ์ ตลอดทั้งองค์พระ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรง ปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่งจึงตรัสให้หา ตาปะขาวผู้มาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททองนั้น แต่มิได้พบปรากฏว่าเมือหล่อพรพะเสร็จก็เดินออกทางประตูเมืองข้างทิศเหนือ เมือพอถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งก็หายไปไม่มีใครเห็นอีก จึงพากันเข้าใจว่าตาปะขาวผู้นั้นคือเทวดาแปลงกายลงมาหล่อพระพุทธชินราชอันเป็นเหตุทำให้เลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธชินราชองค์นี้ยิ่งขึ้น หมู่บ้านที่ ตาปะขาวหายไปนั้นได้ชื่อว่าบ้านตาปะขาวหาย ต่อมาถึงทุกวันนี้
 ศาลาเก่าและธรรมมาสน์เก่า



ส่วนตรงที่ตาปะขาวหายไปนั้น เดิมเป็นวัดเก่าๆ และปัจจุบันได้พังลงในแม่น้ำน่าน  วัดเก่าชื่ออะไรไม่ปรากฏแน่นอนแต่มีชื่อหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกคือ วัดเตาไหและมีหมู่บ้านเตาไหบ้านหม้อสันนิษฐานว่าเป็นบ้านที่ปั้นไหแล้วส่งมาเผาที่บ้านเตาไหเพราะภายหลังนักสำรวจชาวออสเตรเลียได้สำรวจพบว่าที่วัดตาปะขาวหาย มีเตาเก่ารุ่นก่อนชะเลียงของสุโขทัย พบว่ามีประมาณ ๕๐ เตาเรียงเป็นแถวยาว บางเตาก็มีลักษณะซ้อนกัน แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนของผิวเปลือกโลกซึ่งต้องอาศัยเวลาการเคลื่อนที่ยาวนาน

 
 ศาลช่องฟ้า
จากวัดตาปะขาวหายขึ้นไปทาง ทิศเหนือ ๘๐๐ เมตร เชื่อว่า ตาปะขาวได้หายไป ณ ที่ตรงนี้จริงเพราะมีผู้พบเห็น ท้องฟ้าเป็นช่องขึ้นไป และชาวบ้านได้สร้าง ศาลาขึ้นไว้เรียกว่า ศาลาช่องฟ้า มาจนถึงปัจจุบันนี้และ ณ ที่นั่นยังบ่อน้ำใสสะอาด ซึ่งชาวบ้านใช้ดื่มกินกันมาโดยตลอดตราบเท่าทุกวันนี้ ทางวัดได้สร้างรูปปั้น “เทพตาปะขาว”  เพื่อเป็นการระลึกถึงประดิษฐานไว้ที่ศาล เทพตาปะขาว
 
ศาลเทพตาปะขาวใหม่และหลังเก่า

ปูชนียวัตถุ      
๑. พระพุทธรูปขนาดกว้าง ๒.๔๔ เมตร สูง ๓ เมตร ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใดอายุประมาณ ๖๐๐ กว่าปี ประดิษฐานในอุโบสถ
๒. พระพุทธรูป ๖ องค์ ขนาดกว้าง ๓๐ นิ้ว สูง ๑.๕๐ เมตร สร้างเสร็จเมื่อวันที่  ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐  
๓. เทพตาปะขาว รูปหล่อ ขนาดกว้าง ๒๐ นิ้ว สูง ๑.๖๐ เมตร สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๙ 


โบราณสถานวัตถุ
๑. มณฑป สร้างลักษณะพรหมสี่หน้าขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สูง ๑๔ เมตร สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๓๘ ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ขนาดกว้าง ๗๐ นิ้ว ยาว ๑.๔๗ เมตร
๒. หอสวดมนต์ ๑ หลัง สร้างด้วยไม้ลักษณะทรงไทย สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๘



เสนาสนะถาวรวัตถุของวัด

๑. อุโบสถ ลักษณะทรงไทยเดิม สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กมุงกระเบื้องเคลือบขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๗ เมตร

๒. วิหาร ลักษณะทรงไทยเดิมสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๐ มุงกระเบื้องเคลือบเงา ขนาดกว้าง  ๙.๕๐ เมตร ยาว ๑๗ เมตร

๓. ศาลาการเปรียญ  ลักษณะทรงไทย สร้างด้วยไม้ขนาดกว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๓๖ เมตร มุงด้วยกระเบื้อง

๔. หอสวดมนต์ ลักษณะทรงไทยสร้างด้วยไม้มุงกระเบื้อง

๕. กุฏิสงฆ์จำนวน ๖ หลัง ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้น ครึ่งไม้ครึ่งตึก มุงกระเบื้องลูกฟูก ขนาดกว้าง ๖.๕ เมตร ยาว ๙ เมตร


อ้างอิงstudent.nu.ac.th/phitsanulok, cultural.igetweb.com, www.sookjai.com, www.wattapakhaohay.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น