วัดราชคีรีหิรัญญาราม(วัดเจ้าแม่กวนอิมหยกขาว)

ตั้งอยู่ที่บ้านสมอแคลง ในเขตอำเภอวังทอง เดินทางจากตัวเมืองพิษณุโลกไปตามทางหมายเลข 12 (เส้นทางสายพิษณุโลก-หล่มสัก) ประมาณ 14 กิโลเมตร (ก่อนถึงอำเภอวังทอง 3 กิโลเมตร) มีทางแยกซ้ายขึ้นเขาไปอีกประมาณ 300 เมตร  

เดิมทีเป็นวัดที่สร้างมานานแล้ว ไม่มีประวัติว่าสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด โดนปล่อยท้ิงให้ร้าง และได้มีการพัฒนาวัดขึ้นมาใหม่ปี พ.ศ. ๒๔๘๓ โดยกระทรวงศึกษาธิการกรมการศาสนา ได้ออกหนังสือรับรองสภาพความเป็นวัดให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๐ ความว่า   "เป็นวัดที่สมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑" 

เป็นที่ประดิษฐาน “องค์พระแม่กวนอิมหยกขาว” ที่ว่ากันว่า ใหญ่ที่สุดในโลก พระแม่กวนอิมหยกขาว แกะจากหินหยกใต้ทะเลสาป มณฑลกว่างซี ประเทศจีน เป็นปางพิเศษที่ได้รับอนุมัติให้สร้างโดยรัฐบาลจีนโดยใช้ต้นแบบจากวัดเจ้า แม่กวนอิมเมืองหางโจว มีขนาดสูง 3 เมตร หนัก 3 ตัน มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้

ประวัติ

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์พระราชปรารภ เรื่องพระพุทธและมีข้อความที่กล่าวถึงวัดราคีรีหิรัญญาราม โดยมีใจความว่า

  "พระพุทธเจ้าได้เสด็จบิณฑบาทไปถึงที่นั้น แล้วหยุดฉันท์ที่ใต้ต้นสมอ ที่เขาสมอแคลง ซึ่งเดิมเรียกว่าพนมสมอ ควรจะเป็นที่ตั้งพระพุทธศาสนา จึงมีรับสั่งให้จ่านกร้องและจ่าการบุญ คุมกำลังไพร่พลและเสบียงอาหารมาตรวจดูภูมิสถานแถบนั้น เมื่อจ่าทั้งสองได้ลงมาถึงที่ๆ ซึ่งกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ไปบิณฑบาตเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่ดี เหมาะแก่การที่จะสร้างเมืองใหม่ จึงได้มีใบบอกขึ้นไปกราบทูลพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้ากรุงเชียงแสนและเจ้ากรุงศรีสัชชนาลัย พระเจ้าพสุจราช พระบิดาพระนางปทุมมาวดี เอกอัครมเหสีของพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ทั้งสองพระองค์ได้ทรงร่วมกันสร้างเมืองขึ้นมาใหม่เมื่อปี พ.ศ.๑๔๙๖ ตรงเช้าวันศุกร์ขึ้น ๑ ค่ำ ๓ ร.ศ.๓๑๕ และให้ชื่อเริ่มแรกเมืองนั้นว่า เมืองพิษณุโลกโอฆะบุรี นับได้ว่าเป็นชะตาดวงเมืองของพิษณุโลก ตั้งแต่นั้นมาจึงถึงปัจจุบัน โดยอาศัยเหตุดังกล่าวมา"

 ด้วยเหตุดังพระราชนิพนธ์ในราชกาลที่ ๕ ได้ทรงกล่าวถึง วัดเขาสมอแคลง อันมีพระเถระผู้ใหญ่ พระอุบาฬี และพระศิริมานนท์ ได้รับอาราธนามาเป็นประธานการสวดพระปริตและพระพุทธมนต์ถึงสองครั้งย่อมแสดง ให้เห็นว่า วัดเขาสมอแครงนั้นมีความสำคัญยิ่งในสมัยนั้น ในปัจจุบันวัดที่เป็นวัดถูกต้องตามหลักการครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ก็มีอยู่เพียงวัดเดียวที่ตั้งอยู่บนเขาสมอแครง คือ วัดราชคีรีหิรัญยาราม มีเนื้อที่เขตวัดในปัจจุบันประมาณ 230 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา โดยสภาพ ถูกกาลเวลากลืนกินไปตามกาลรวมทั้งคนใจบาปได้ขึ้นมาขุดทำลายโบสถ์, วิหาร, เจดีย์ต่างๆ เสียหายสิ้นสภาพหมด เพื่อจะขุดค้นหาวัตถุมงคลที่เรียกว่า "พระสมเด็จนางพญา" เท่านั้น


วิหารเก่าแก่ เข้ามาในซุ้มประตูขับเข้ามาเรื่อยๆ ตามทางจะถึงลานจอดรถ ก่อนจะมาถึงตรงนี้จะเห็นอาคารสิ่งก่อสร้างหลายสิ่งหลายอย่างที่ล้วนแล้วแต่ มีอายุหลายสิบปี หลายแห่งก็ปิดและงดใช้ไปแล้ว วิหารที่เห็นอยู่นี้ก็เช่นเดียวกัน ทางวัดกำลังดำเนินการรวบรวมทุนเพื่อบูรณะและสร้างอาคารหลายแห่งขึ้นมาใหม่ แต่อาคารวิหารเก่าแห่งนี้ทำให้เห็นถึงกระแสศรัทธาที่มีมายังวัดราชคีรีหิรัญ ยาราม อย่างไม่ขาดสายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
 
 วิหารเจ้าแม่กวนอิมหยกขาว เมื่อประมาณต้นปี พ.ศ. 2535 ได้มีการอัญเชิญพระโพธิสัตว์กวนอิม ซึ่งแกะสลักจากหินทะเลสาบหยกขาวจากเมืองหางโจว ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นปางพิเศษที่ได้รับอนุมัติให้สร้างโดยรัฐบาลจีนโดยใช้ต้นแบบจากวัดเจ้า แม่กวนอิมเมืองหางโจว มีขนาดสูง 3 เมตร หนัก 3 ตัน มาประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้ ปัจจุบันมีการสร้างวิหารในลักษณะระเบียงคดล้อมรอบเป็นรูปแปดเหลี่ยม อยู่ห่างจากวิหารเก่าเล็กน้อย เมื่อตั้งใจเดินทางมาที่วัดราชคีรีหิรัญยารามหลายคนก็เข้ามาสักการะไหว้เจ้า แม่กวนอิม ด้วยการจุดธูป 5 ดอก กับน้ำ 5 ขวด แล้วลานำน้ำนั้นกลับไปเป็นสิริมงคล

 

 

พระบรมมหาโพธิสัตว์พระแม่กวนอิมหยกขาว ความสูง ๓ เมตร ๕ เซนติเมตร น้ำหนัก ๓ ตัน หรือ ๓,๐๐๐ กิโลกรัม นับได้ว่าเป็นหินทะเลหยกขาวองค์เดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และแกะสลักสำเร็จรูป วัดสำนักนางชี ซึ่งบนเทือกไหล่เขาทะเลสาบเวสเลค ใกล้กับวัดหลิงหลินซื่อ วัดที่สำคัญของเมืองหังโจว เป็นวัดบ้านเกิดของพระอรหันต์จี้กง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

 

เคยมีผู้เฒ่าเล่าตำนานความเป็นมาของเขาสมอแคลงให้ได้ฟังว่า   สมัยก่อนใกล้ๆ กับเขาสมอแคลงเคยมีเมืองที่มีชื่อว่า ‘ราชนก’  ตั้งอยู่    แต่ต่อมาเกิดอาเพท ผืนดินยุบลงเมืองจมหายกลายเป็นบึงน้ำใหญ่ (พื้นที่บึงราชนกในปัจจุบัน) หนุมานซึ่งเป็นคนรักของพระราชธิดาเมืองราชนก ทราบข่าวจึงรีบเหาะขึ้นไปหักยอดเขาฟ้าหวังจะมาถมบึงให้กลับคืนมาเป็นผืนพระนครอีกครั้ง      แต่ก็มาช้าเกินไปพระราชธิดาพระองค์นั้นได้สิ้นพระชนม์ลงไปเสียแล้ว  ด้วยความเสียใจจึงโยนยอดเขาฟ้าที่หักมาทิ้งไปหล่นตะแคงอยู่กลางทุ่ง จากยอดเขาฟ้าจึงกลายมาเป็นเขาสมอแคลงนับแต่บัดนั้น


(“สมอ-แคลง” สันนิษฐานว่าน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า ‘ถมอ’ ในภาษาเขมรที่แปลว่า ก้อนหิน   ส่วน ‘แคลง’ หมายถึง ตะแคง)

ชมวิวบนเขาสมอแคลง ที่เห็นอยู่นี้เป็นอีกวัดคือวัดคลองเรือ เป็นวัดหนึ่งที่อยู่พื้นราบเชิงเขาห่างออกไป กับท้องทุ่งนากว้างใหญ่ เจดีย์กับพระพุทธรูปองค์ใหญ่มากๆ ที่เบื้องล่างโดดเด่นอยู่กลางธรรมชาติสีเขียว นอกจากที่วัดราชคีรีหิรัญยารามจะปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านหลังวิหารพระแม่กวนอิมให้มองเห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามจากบนเขาสมอแคลงแล้วยังมีจุดชมวิวบนยอด เขาแห่งนี้ซึ่งต้องเดินทางขึ้นเขาต่อไปอีก

หอฉันหอสวดมนต์ เป็นกลุ่มอาคารที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีความสวยงามมากแม้ว่าจะยังสร้างได้เพียงบางส่วนแต่ก็พอจะดูออกว่าหากสร้าง เสร็จแล้วจะเป็นหอฉัน และหอสวดมนต์ที่สวยงาม อยู่ข้างวิหารพระแม่กวนอิมหยกขาว

ลานพระสิวลี อยู่ข้างหอฉัน แท่นพระสิวลีสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วและยังคงมีการก่อสร้างตกแต่งบริเวณโดย รอบเมื่อเสร็จแล้วก็จะเป็นสถานที่ที่สวยงามมากอีกเช่นกัน จุดเด่นของแท่นพระสิวลีนั้นอยู่ที่บันไดพญานาคที่มีลวดลายปราณีตอ่อนช้อยราย ละเอียดสวยงามทุกส่วน

วิหารพุทธรรม สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รักษาศีลฟังธรรม เฉลิมพระชนมายุ 7 รอบ 84 พรรษา วิหารหลังนี้มีขนาดกว้างใหญ่ แต่ไม่สูงอยู่หลังลานพระสิวลีไปไม่ไกลมองด้านนอกเห็นเป็นอาคารเรียบๆ เดี๋ยวจะพาเข้าไปชมด้านในครับ

พระสิวลี ท้ายสุดของการชมวัดราชคีรีหิรัญยาราม บนเขาสมอแคลง ซึ่งมีหลายอย่างที่กำลังบูรณะและก่อสร้างขึ้นมาใหม่ สถานที่ทุกแห่งในวัดล้วนแล้วแต่สร้างด้วยความปราณีต สวยงามทุกหลังชมรอบบริเวณวัดและไหว้พระกันแล้วก็เดินทางกลับจบด้วยภาพพระ สิวลีด้านข้างนี้เป็นภาพสุดท้ายครับ เดี๋ยวถ้ามีการอัพเดตค่อยไปเก็บภาพกันใหม่ เพียงเท่านี้ก็เห็นความสวยงามของวัดราชคีรีหิรัญยารามกันอย่างเต็มที่แล้ว มีโอกาสไปพิษณุโลกอย่าลืมลองแวะไปดูนะครับ

การเดินทางมายังวัดคีรีหิรัญยารามมีทางโค้งลาดชันขึ้นเขาเพียงไม่ไกลนักก็มาถึง ประตูวัด บนเขาสมอแคลง ซุ้มประตูวัดเขาสมอแคลงทำให้เห็นได้ชัดว่าเป็นวัดเก่าแก่มากแห่งหนึ่ง เสาของซุ้มประตูทั้ง 2 ข้างมียักษ์ทวารบาลยืนประจำอยู่ และทำเลที่ตั้งของวัดอยู่บนเขาสมอแคลง ทำให้เกิดความสับสนว่าเป็นวัดเดียวกันกับวัดเขาสมอแคลง ซึ่งอยู่ไม่ห่างกันมากนัก หรือที่เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า วัดพระพุทธบาทเขาสมอแคลง จึงเกิดความสับสนกันได้ง่าย และเนื่องจากมีวัด 2 วัดเป็นคนละแห่งกัน จึงขอเรียกวัดราชคีรีหิรัญยาราม ไม่ใช้คำว่า "หรือวัดเขาสมอแคลง" ต่อท้าย

สถานที่ใกล้เคียง : โรงเจไซทีฮุกตึ้ง เจ้าพ่อเห้งเจีย, วัดพระพุทธบาทเขาสมอแคลง

ที่มา: www.touronthai.comwww.oknation.net , phitsanulok.modify.in.th , www.weekendhobby.com

วัดตาปะขาวหาย



วัดตาปะขาวหาย ตั้งอยู่เลขที่ ๔๖ หมู่ ๔ อำเภอหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 
สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย 
เป็นวัดเก่าแก่ได้ก่อสร้างวัดขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดแต่ สันนิษฐานตามโบราณสถานและปูชนียวัตถุที่ปรากฏมีอยู่คือ เตาสมัยโบราณคงจะก่อสร้างวัดขึ้นในราว พ.ศ. ๑๙๐๐ มีเนื้อที่ดินจำนวน ๒๒ไร่ ๑ งาน ๒๕ ตารางวาเศษ

มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ        ติดต่อกับโรงเรียนตาปะขาวหาย                             
ทิศใต้            ติดต่อกับสถานแลกรับเด็กและเยาวชนกระทรวงยุติธรรมจังหวัดพิษณุโลก
ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลหัวรอ      
ทิศตะวันตก   ติดต่อกับแม่น้ำนาน




เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดเตาไห เพราะเป็นหมู่บ้านที่ปั้นเตาและไห และสันนิษฐานว่าหมู่บ้านเตาไหบ้านหม้อเป็นบ้านที่ปั้นไหแล้วส่งมาเผาที่บ้านเตาไหเพราะชาว ออสเตรเลียได้สำรวจพบว่าที่วัดตาปะขาวหาย ปัจจุบันพบว่ามีเตาเก่ารุ่นก่อนชะเลียงของสุโขทัย มีประมาณ ๕๐ เตาเรียงเป็นแถวยาว บางเตาก็มีลักษณะซ้อนกันแสดงให้เห็นถึงผิวโลกเคลื่อนที่ซึ่งต้องใช้เวลาอันยาวนาน
 ท่าน้ำที่วัดเก่าจมใต้น้ำ และบริเวณวัด

ประวัติความเป็นมา:

เป็นตำนานสืบเนื่องมาจาการสร้างพระพุทธชินราชตามพงศาวดารเมื่อราว พ.ศ.๑๙๐๐ (จากการสันนิษฐานตามโบราณสถานและปูชนียวัตถุที่ปรากฏมีอยู่คือ เตาสมัยโบราณ) โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยได้ส่งช่างพราหมณ์ฝีมือดี ๕ นาย พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกโปรดให้ช่างเชียงแสนและช่างหริภุญไชยสมทบกับช่างจากกรุงศรี สัชนาลัยช่วยกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ๓ องค์ มีทรวดทรงสัญฐานคล้ายกันคือ พระองค์ที่ ๑ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า พระพุทธชินราช  พระองค์ที่ ๒ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า พระพุทธชินสีห์ พระองค์ที่ ๓ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า พระศรีศาสดา” 

โบสถ์และวิหาร

 ราว พ.ศ.๑๘๙๘ ได้มงคลฤกษ์กระทำพิธีเททองหล่อพระ พุทธรูปทั้ง ๓ องค์และเมื่อเททองหล่อเสร็จแล้วกระทำการแกะพิมพ์ ออกปรากฏว่าพระองค์ที่ ๒ คือ พระพุทธชินสีห์ และองค์ที่ ๓ คือ พระศรีศาสดาองค์พระบริบูรณ์ดี มีน้ำทองแล่นติดตามเสมอกันสวยงาม ๒ องค์เท่ากัน ส่วนพระพุทธชินราชนั้นทองแล่นติดไม่เต็มองค์ไม่บริบูรณ์ นับว่าเป็นที่อัศจรรย์ของช่างและผู้มาร่วมพิธีอันมาก ช่างได้ช่วยกันทำหุ่นและเททองหล่อ อีก ๓ ครั้งก็ไม่สำเร็จเป็นองค์พระได้คือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ทรงรู้สึกประหลาดพระทัยยิ่งนักพระองค์จึงทรงตั้งสัตยาธิฐานเสี่ยงเอาบุญ บารมีของพระองค์เป็นที่ตั้ง อีกทั้งยังขอให้ทวยเทพยดาจึงด้วยดลใจให้สร้างพระพุทธรูปสำเร็จตามพระประสงค์ เถิดแล้วให้ช่างปั้นหุ่นใหม่อีกหนึ่งในครั้งนี้ปรากฏว่ามี ตาปะขาวคนหนึ่ง ไม่มีผู้ใดทราบว่าชื่อใดมาจากที่ไหนได้เข้ามาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททอง ทำการงานอย่างแข็งแรง ทั้งกลางวันและกลางคืนจนเสร็จโดยไม่ยอมพูดจากับผู้ใด


หอระฆังใหม่และหอระฆังเก่า


นับเวลาห่างจากครั้งแรกเป็นเวลา ๒ ปี นพศก จุลศักราช ๗๑๙ ก็ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราชคราวนี้ทองก็แล่นเต็มบริบูรณ์ ตลอดทั้งองค์พระ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรง ปิติโสมนัสเป็นอย่างยิ่งจึงตรัสให้หา ตาปะขาวผู้มาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททองนั้น แต่มิได้พบปรากฏว่าเมือหล่อพรพะเสร็จก็เดินออกทางประตูเมืองข้างทิศเหนือ เมือพอถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งก็หายไปไม่มีใครเห็นอีก จึงพากันเข้าใจว่าตาปะขาวผู้นั้นคือเทวดาแปลงกายลงมาหล่อพระพุทธชินราชอันเป็นเหตุทำให้เลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธชินราชองค์นี้ยิ่งขึ้น หมู่บ้านที่ ตาปะขาวหายไปนั้นได้ชื่อว่าบ้านตาปะขาวหาย ต่อมาถึงทุกวันนี้
 ศาลาเก่าและธรรมมาสน์เก่า



ส่วนตรงที่ตาปะขาวหายไปนั้น เดิมเป็นวัดเก่าๆ และปัจจุบันได้พังลงในแม่น้ำน่าน  วัดเก่าชื่ออะไรไม่ปรากฏแน่นอนแต่มีชื่อหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกคือ วัดเตาไหและมีหมู่บ้านเตาไหบ้านหม้อสันนิษฐานว่าเป็นบ้านที่ปั้นไหแล้วส่งมาเผาที่บ้านเตาไหเพราะภายหลังนักสำรวจชาวออสเตรเลียได้สำรวจพบว่าที่วัดตาปะขาวหาย มีเตาเก่ารุ่นก่อนชะเลียงของสุโขทัย พบว่ามีประมาณ ๕๐ เตาเรียงเป็นแถวยาว บางเตาก็มีลักษณะซ้อนกัน แสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนของผิวเปลือกโลกซึ่งต้องอาศัยเวลาการเคลื่อนที่ยาวนาน

 
 ศาลช่องฟ้า
จากวัดตาปะขาวหายขึ้นไปทาง ทิศเหนือ ๘๐๐ เมตร เชื่อว่า ตาปะขาวได้หายไป ณ ที่ตรงนี้จริงเพราะมีผู้พบเห็น ท้องฟ้าเป็นช่องขึ้นไป และชาวบ้านได้สร้าง ศาลาขึ้นไว้เรียกว่า ศาลาช่องฟ้า มาจนถึงปัจจุบันนี้และ ณ ที่นั่นยังบ่อน้ำใสสะอาด ซึ่งชาวบ้านใช้ดื่มกินกันมาโดยตลอดตราบเท่าทุกวันนี้ ทางวัดได้สร้างรูปปั้น “เทพตาปะขาว”  เพื่อเป็นการระลึกถึงประดิษฐานไว้ที่ศาล เทพตาปะขาว
 
ศาลเทพตาปะขาวใหม่และหลังเก่า

ปูชนียวัตถุ      
๑. พระพุทธรูปขนาดกว้าง ๒.๔๔ เมตร สูง ๓ เมตร ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใดอายุประมาณ ๖๐๐ กว่าปี ประดิษฐานในอุโบสถ
๒. พระพุทธรูป ๖ องค์ ขนาดกว้าง ๓๐ นิ้ว สูง ๑.๕๐ เมตร สร้างเสร็จเมื่อวันที่  ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๐  
๓. เทพตาปะขาว รูปหล่อ ขนาดกว้าง ๒๐ นิ้ว สูง ๑.๖๐ เมตร สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๒๙ 


โบราณสถานวัตถุ
๑. มณฑป สร้างลักษณะพรหมสี่หน้าขนาดกว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สูง ๑๔ เมตร สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๓๘ ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ขนาดกว้าง ๗๐ นิ้ว ยาว ๑.๔๗ เมตร
๒. หอสวดมนต์ ๑ หลัง สร้างด้วยไม้ลักษณะทรงไทย สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๘



เสนาสนะถาวรวัตถุของวัด

๑. อุโบสถ ลักษณะทรงไทยเดิม สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กมุงกระเบื้องเคลือบขนาดกว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๗ เมตร

๒. วิหาร ลักษณะทรงไทยเดิมสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๐ มุงกระเบื้องเคลือบเงา ขนาดกว้าง  ๙.๕๐ เมตร ยาว ๑๗ เมตร

๓. ศาลาการเปรียญ  ลักษณะทรงไทย สร้างด้วยไม้ขนาดกว้าง ๒๒ เมตร ยาว ๓๖ เมตร มุงด้วยกระเบื้อง

๔. หอสวดมนต์ ลักษณะทรงไทยสร้างด้วยไม้มุงกระเบื้อง

๕. กุฏิสงฆ์จำนวน ๖ หลัง ลักษณะทรงไทย ๒ ชั้น ครึ่งไม้ครึ่งตึก มุงกระเบื้องลูกฟูก ขนาดกว้าง ๖.๕ เมตร ยาว ๙ เมตร


อ้างอิงstudent.nu.ac.th/phitsanulok, cultural.igetweb.com, www.sookjai.com, www.wattapakhaohay.com