วัดในจังหวัดพิษณุโลก - วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร (วัดใหญ่)

วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดในจังหวัดพิษณุโลกที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย มีสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประติมากรรมที่งดงามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันล้ำค่าของเมืองพิษณุโลก
 
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหารนี้ไม่มีหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นก่อนสมัยสุโขทัย และเป็นพระอารามหลวงมาแต่เดิม เพราะได้พบหลักฐานศิลาจารึกสุโขทัยมีความว่า พ่อขุนศรีนาวนำถมทรงสร้างพระทันตธาตุสุคนธเจดีย์ ...

จากในพงศาวดารชาวเหนือกล่าวไว้ว่า " ในราวพุทธศักราช ๑๙๐๐ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก (พระมหาธรรมราชาลิไท) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ครองกรุงสุโขทัย ทรงมีศรัทธาเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งยังได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ศาสนาอื่น ๆ จนช่ำชองแตกฉาน หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ในฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีพระปรางค์อยู่กลาง มีพระวิหาร ๔ ทิศ มีพระระเบียง ๒ ชั้นและทรงรับสั่งให้ปั้นหุ่นหล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทั้ง ๓ หลัง"

ต่อมาเมื่อ ปี พ.ศ. 2458 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้ยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2458 ปัจจุบันจึงมีชื่อเต็มว่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

ภายในวัดใหญ่นี้มีโบราณสถานและโบราณวัตถุคือ

วิหารหลวงประดิษฐานพระพุทธชินราช
วิหารหลวง
   เป็นวิหารทรงโรง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช ซึ่งนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งในโลก ตัวพระวิหารสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และได้รับการบูรณะให้มีสภาพดีมาตลอดจนถึงสมัยปัจจุบัน พระวิหารหลังนี้จึงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยกรุงสุโขทัยที่มีความสง่างามสมส่วน และยังคงสภาพสมบูรณ์ดีที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ภายในวิหาร ประดิษฐาน พระพุทธชินราช หรือเรียกว่า "หลวงพ่อใหญ่" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย

พระพุทธชินราช
พระพุทธชินราช
  เป็นพระพุทธรูปองค์ประธานของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทย เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยสำริด ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยตอนปลาย หน้าตักกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว สูง 7 ศอก หล่อในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท)  ฐานชุกชีสมเด็จพระเอกาทศรถ คราวเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธชินราช เมื่อปี พ.ศ. 2146
ปั๊มเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เดิมไม่ได้ลงรักปิดทอง ได้มีการปิดทองครั้งแรกในรัชสมัย


ตำนาน
กล่าวว่า พระพุทธชินราชสร้างในสมัยพระศรีธรรมไตรปิฎก ธาตุของพระพุทธเจ้า คือ ผม ได้สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยใช้ช่างจากเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองหริภุญชัย ในการเททองปรากฏว่าหล่อได้สำเร็จเพียงสององค์ ส่วนพระพุทธชินราชทองแล่นไม่ตลอด ต้องทำพิมพ์หล่อใหม่ถึงสามครั้ง ครั้งสุดท้ายพระอินทร์ได้แปลงกายเป็นชีปะขาวมาช่วยเททองหล่อ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้นสองค่ำ เดือนหก ปีมะเส็ง จุลศักราช 717 จึงหล่อได้สำเร็จบริบูรณ์

ปัจจุบันพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดาได้ถูกอันเชิญไปประดิษฐานที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ทางวัดจึงได้หล่อองค์จำลองขึ้นแทน

พระเหลือ 
กล่าวไว้ว่า พระยาลิไทรับสั่งให้ช่างนำเศษทองสัมฤทธิ์ที่เหลือจากสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา โดยนำมารวมกันหล่อพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดเล็ก หน้าตัก กว้าง 1 ศอกเศษ เรียกชื่อพระพุทธรูปนี้ว่า “พระเหลือ”เศษทองยังเหลืออยู่อีกจึงได้หล่อพระสาวกยืนอยู่ 2 องค์ ส่วนอิฐที่ก่อเตาสำหรับหลอมทองในการหล่อพระพุทธรูป นำมารวมกันบนชุกชี (ฐานชุกชี) พร้อมกับปลูกต้นมหาโพธิ์ 3 ต้นลงบนชุกชี เรียกว่า โพธิ์สามเส้า ระหว่างต้นโพธิ์ได้สร้างวิหารน้อยขึ้นมา 1 หลัง อัญเชิญพระเหลือกับสาวกเข้าไปประดิษฐานอยู่ เรียกว่า พระเหลือ
พระปรางค์
พระปรางค์ วัดใหญ่, พล.
ตั้งอยู่ ณ ศูนย์กลางของวัด เป็นพระปรางค์ประธาน และเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของวัด การก่อสร้างพระปรางค์ ได้ทำตามคตินิยมของหัวเมืองราชธานี ของอาณาจักรสุโขทัยในสมัยนั้น คือประสงค์ให้พระปรางค์เป็นหลักเป็นประธานของวัด และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ รูปแบบของพระปรางค์เมื่อเริ่มสร้างสันนิษฐานว่า เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม โดยสร้างครอบพระสถูปเจดีย์ที่สร้างในรัชสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถม เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นไป ครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลก ได้โปรดให้บูรณะพระปรางค์โดยดัดแปลงพระเจดีย์ ได้ให้เป็นรูปแบบพระปรางค์แบบขอมตามพระราชนิยมในสมัยกรุงศรีอยุธยา

พระเจ้าเข้านิพพาน
พระวิหารพระเจ้าเข้านิพพาน 
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวิหารพระพุทธชินราชนอกเขตระเบียงคต ภายในประดิษฐานหีบปิดทอง(สมมุติ)บรรจุพระบรมศพองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ปลายหีบมีพระบาททั้งสองยื่นออกมา และบริเวณด้านหน้า หรือด้านท้าย หีบพระบรมศพ มีพระมหากัสสปะเถระ นั่งนมัสการพระบรมศพ เป็นการจำลองสังเวชนียสถานของพระพุทธเจ้า
 

วิหารพระอัฐฐารส
วิหารอัฐฐารส
ตั้งอยู่บริเวณหลังวิหารพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติสูง 18 ศอก (ประมาณ 10 เมตร) สร้างในสมัยเดียวกับพระพุทธชินราช ในราว พ.ศ. 1800 เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารใหญ่แต่วิหารได้พังไปจนหมด เหลือเพียงเสาที่ก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ 3 – 4 ต้น และเนินพระวิหารบางส่วน เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง”

ในปัจจุบันกรมศิลปากรได้ทำการบูรณะขุดแต่งทางโบราณคดีในบริเวณที่เรียกว่า “เนินวิหารเก้าห้อง” ซึ่งขุดพบฐานพระวิหารเดิมและพระพุทธรูปวัตถุโบราณจำนวนหนึ่ง

แผ่นที่เดินทาง
 
อ้างอิง
วืกิพิเดีย
เว็ปไซต์ไทยทัวร์
คู่มือท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก
ผู้จัดการออนไลน์

วัดในจังหวัดพิษณุโลก - วัดนางพญา



โบสถ์ปัจจุบัน
สถานที่ตั้ง : อยู่ถนนจ่าการบุญ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก อยู่ติดกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร และอยู่ทางทิศตะวันออกถัดจากวัดราษฎร์บูรณะ   สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สถาปัตยกรรมมีลักษณะสมัยเดียวกันกับวัดราชบูรณะ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด สันนิษฐานว่า สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย หรือสมัยอยุธยาตอนต้น ชาวพิษณุโลกเชื่อกันว่า ผู้สร้างวัดนางพญาคือ พระวิสุทธิกษัตริย์ เมื่อครั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชา ทรงดำรงตำแหน่งมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกอยู่นานถึง ๒๑ ปีในระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๙๑ - ๒๑๑๒  


พระวิหาร เป็นอาคารทรงโรงก่ออิฐถือปูนมี ๖ ห้อง สถาปัตยกรรมสมัยสุโขทัย พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะสุโขทัย ฝาผนังด้านหลังเขียนภาพไตรภูมิ ฝาผนังด้านหน้าเขียนภาพพุทธประวัติ 
 
พระนางพญาในวิหารเก่า
แต่เดิมนั้นยังไม่มีอุโบสถมีแต่วิหาร  ต่อมาวิหารชำรุดทรุดโทรม ทางวัดจึงได้ทำการบูรณะพระวิหารของเก่าทำให้เป็นอุโบสถ โดยการก่อสร้างขึ้นใหม่ทั้งหลัง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันพระราชทานพระฤกษ์การสร้างอุโบสถ ณ วันพุธที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ.๒๕๒๑ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๖ เกี่ยวกับการศึกษา ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม พ.ศ.๒๕๐๕           



ปูชนียวัตถุ มีพระประธานในอุโบสถเรียกพระสมเด็จนางพญาเรือนแก้ว นอกจากนี้มีพระเครื่องพิมพ์นางพญาเป็นต้นตระกูลในสมัยนั้น ๓ ขนาด และมีเจดีย์เก่า ๒ องค์ มีมาคู่กับวิหารวัดนางพญา สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๑๒๐ เป็นที่ทราบกันว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ทางสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ์พระนางวิสุทธิกษัตริย์ พระราชชนนีสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์ไทย วัดนี้เป็นวัดต้นตระกูลของพระเครื่องสมเด็จนางพญา  มีชื่อเสียงในด้านพระเครื่อง เรียกว่า พระนางพญา ซึ่งเล่าลือกันถึงความศักดิ์สิทธิ์ พระนางพญาเป็นสุดยอดพระ หนึ่งในชุดเบญจภาคี
พระนางพญาเรือนแก้ว


พระนางพญา

ได้มีการพบกรุพระนางพญาครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และให้บรรดาข้าราชบริพาร ครั้งหลังเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อมีการขุดหลุมหลบภัยจึงไปพบพระนางพญาเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณวัด พระพิมพ์นางพญา เป็นพระพิมพ์ปางมารวิชัย องค์พระอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีเหลี่ยมรอยตัดด้วยเส้นตอกตัดเรียบร้อย สวยงามประณีต เป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาเนื้อแกร่ง และเนื้อหยาบ เนื้อมีส่วนผสมของดินว่านต่างๆ แร่ธาตุ กรวดและทราย
พระนางพญา -กรุวัดนางพญา
ภาพ : www.phrakruangputhorn.com

วัดในจังหวัดพิษณุโลก - วัดราษฎร์บูรณะ


พิษณุโลกมีวัดเก่าแก่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะสถาปัตยกรรมอยู่มากมายหลายวัด เช่น วัดราชบูรณะ วัดสำคัญตั้งอยู่ใจกลางเมืองบริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่าน เยื้องวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) ตรงข้ามกับวัดนางพญา ซึ่งตามประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยตอนปลาย รัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พระยาลิไท) มีประวัติบนแผ่นป้ายไม้ข้อความว่า "วัดราชบูรณะเดิมไม่ปรากฏชื่อ ก่อสร้างมานานประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเศษ ก่อนที่พระยาลิไท ได้มาทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงได้ชื่อว่า "วัดราชบูรณะ"   วัดราชบูรณะ นี้เป็นต้นกำเนิดพระพิมพ์นางพญา 

ปัจจุบันตั้งอยู่เลขที่ ๑๖/๑๖๙ ถ.บรมไตรโลกนารถ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพิษณุโลก  
  
ประวัติวัดบนไม้แผ่นป้ายของวัด มีความว่า   วัดราชบูรณะเดิมไม่ปรากฏชื่่อ ก่อสร้างมานาน ๑,๐๐๐ ปีเศษ ก่อนที่พระยาลิไทได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ดังนั้นวัดนี้จึงได้ชื่อว่า วัดราชบูรณะรวมความยาวนานถึงปัจจุบันประมาณ ๑,๐๐๐ ปีเศษ
โบราณสถาน โบราณวัตถุ และจิตรกรรม น่าสนใจทางประวัติศาสตร์

*** วิหารหลวง    เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออกพื้นภายในวิหารยกระดับสูงจากพื้นดิน  ประมาณ  ๑.๗๕  เมตร พระวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบทรงโรงมี  ๙ ห้อง ศิลปะสมัยสุโขทัยด้านหน้ามีระเบียงมีเสาหานร่วมเรียงในรับ ๔  เสา มีหลังคาโค้งตอนบนกลมเล็กน้อยมุงด้วยกระเบื้องดินเผาสี่เหลี่ยม ผืนผ้า  ปัจจุบันมุงด้วยกระเบื้องดินเผาเกล็ดพระยานาคใหม่  หลังคาทำเป็นปีกนกคลุม  ๓  ชั้น  เดิมมุงด้วยกระเบื้องดินเผาเกล็ดพระยานาคใหม่  

--พระประธาน  เป็นพระประธานปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย  หน้าตักกว้าง  ๔  เมตร  สูง  ๕.๕๐  เมตร  ศิลปะสมัยสุโขทัย   
-- จิตรกรรมฝาผนัง    จิตรกรรมภายในวิหารหลวงทั้งสี่ด้าน  มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือสกุลช่างใน  รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  ๔  เขียนเรื่อง  พุทธประวัติ  แต่ภาพจิตรกรรมฝาผนังเหล่านี้ถูกน้ำฝนลบเลือนชำรุดเสียหายไปเกือบหมดแล้ว  คงเห็นเป็นภาพจิตรกรรมได้เด่นชัดเฉพาะตรงผนังกลองหน้าพระวิหารเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าผจญมารเต็มทั้งฝาผนัง

***เจดีย์หลวง ตั้ง อยู่ทางด้านตะวันตก ติดถนนริมฝั่งแม่น้ำน่าน เป็นเจดีย์ทรงกลม ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมทำเป็นชั้นๆ ขึ้นไปถึงบนสุดเป็นเจดีย์ทรงกลมใหญ่เป็นศิลปะสมัยอยุธยา เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่แกนในของฐานเป็นดิน  ภาย นอกก่ออิฐตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร ฐานเจดีย์เป็นหน้ากระดาน ๘ เหลี่ยม ซ้อนกันขึ้นไปประมาณ ๘ ชั้น มุมฐานชั้นบนสุดมีจุลเจดีย์ประดับที่มุม ระหว่างจุลเจดีย์นี้ทำเป็นพนักระเบียงติดต่อกันโดยรอบ ส่วนตรงกลางเป็นพระเจดีย์ประธานลักษณะของเจดีย์ มีมาลัยเถาซ้อนกัน ๕ ชั้น เหนือขึ้นไปเป็นองค์ระฆังทรงกลม  แต่ชำรุดไปแล้ว  จึงสันนิษฐานว่า จุลเจดีย์น่าจะมีลักษณะเหมือนเจดีย์ประธานแต่มีขนาดย่อส่วนลง พระเจดีย์องค์ใหญ่วัดราชบูรณะองค์นี้เป็นพระเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด  และสูงที่สุดในจังหวัดพิษณุโลก

***อุโบสถวัดราชบูรณะ
--เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน อุโบสถ มีขนาดกว้าง ๑๐  เมตร  ยาว ๑๘ เมตร  สูง  ๑๐  เมตร ผนังหนาราว ๕๐ เซนติเมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก  พื้นภายในพระอุโบสถยกระดับสูงจากพื้นดินประมาณ  ๑.๗๕  เมตร มีกำแพงแก้วล้อมรอบอีกชั้น

 อุโบสถมีสถาปัตยกรรมแบบทรงโรง  มี  ๖  ห้อง  ซึ่งเป็นศิลปะสมัยสุโขทัย  มีหลังคาโค้งตรงกลางเล็กน้อย  มุงด้วยกระเบื้องดินเผาสี่เหลี่ยมผืนผ้า  หลังคานั้นเป็นปีกนกคลุมสามชั้น  มุงด้วยกระเบื้องดินเผาแบบเกล็ดพระยานาค  จั่วหน้าหลังเป็นจั่วแบบภควัมมีประดับด้วยกระจกสีน้ำเงินและเหลือง  มีช่อฟ้าบนหลังคาอุโบสถหน้าหลัง  มีรวยระกาที่หน้าบรรณ บานประตูด้านหน้า และหลังรวม ๕ คู่  แกะสลักดอกไม้มีสี่กลีบแบบดอกลำดวน  ประดับกระจกสีน้ำเงินและสีเหลืองรอบพระอุโบสถมีกำแพงแก้ว  ก่ออิฐถือปูนสูงประมาณ  ๑.๒๕  เมตร  โดยรอบ 
--ใบเสมา ใบเสมาหินทรายตั้งอยู่บนฐานบัวกลุ่มกลีบซ้อนเรียงกัน ๘  ชั้น  มีทั้งใบเสมาเดี่ยวและใบเสมาคู่  แต่เหลือเพียง ๗  ที่ใบเสมาถูกย้ายไป ๑  ที่  คราวก่อสร้างถนนมิตรภาพผ่านวัดราชบูรณะ  ภายในพระอุโบสถมีเสาหานร่วมเรียงกันอยู่ใน  ๒ แถว  แถวละ  ๕  ต้น  รวมเป็น ๑๐ ต้น เสาศิลาแลงกลมก่ออิฐถือปูนขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง  .๘๐  เมตร  ทาสีแดง  มีลายดอกไม้เรียงบนพื้นสีดำลายฉลุสีทองที่โคนเสา  และที่ปลายเสา  เพื่อรองรับตัวขื่อ  มีบัวหัวเสาเป็นตัวขื่อ  มีบัวหัวเสาเป็นกลุ่มกลีบซ้อนเรียงกัน  ๕  ชั้น  เพดานบนมีลายดอกไม้เขียนบนพื้นไม้  พื้นสีดำลายฉลุสีทองบนจั่วด้านหลังพระประธานมีภาพเขียน ๕  ภาพ  เป็นเรื่องพุทธประวัติ  (พระเกศแก้วจุลมณี)  
-- พระประธาน  ในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองปางมารวิชัย  หน้าตักกว้าง  ๒  เมตร  สูง  ๓  เมตร  ศิลปะสมัยสุโขทัยประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี
 --ธรรมาสน์ไม้เก่า ธรรมาสน์ไม้เก่าที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ได้ ทรงทอดพระเนตรเห็นนั้น ปัจจุบันกรมศิลปากรได้บูรณะและนำไปตั้งแสดงไว้ ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติรามคำแหงจังหวัดสุโขทัย
--จิตรกรรมฝาผนัง  บริเวณ ผนังอุโบสถวัดราชบูรณะยังมีความงามจิตรกรรมประดับตกแต่งอยู่ ๔ ด้าน ตอนบนเขียนเรื่อง รามเกียรติ์ติดต่อกันไปและตอนที่เขียนได้ดีที่สุดคือตอน "ทศกัณฐ์สั่งเมือง" ซึ่งอยู่ที่ผนังด้านทิศเหนือส่วนด้านล่างติดกับพื้น เขียนเรื่อง "กามกรีฑา" ซึ่งไม่ปรากฏว่าเคยพบที่ใดเลยมาก่อน ภาพที่เขียนดังกล่าวที่แสดงถึงลักษณะพิเศษของท้องถิ่นและแสดงอารมณ์ของศิลปินไว้ไม่น้อย
--ภาพเขียนทั้งหมดสันนิฐานคงจะเขียนขึ้นในสมัย รัตนโกสินทร์ ราวรัชกาลที่ ๔ แต่ปัจจุบันกำลังจะลบเลือนไปหมดแล้วเพราะถูกน้ำฝนรั่วจากหลังคามาเป็นทางยาว ทำให้ภาพดังกล่าวไดชำรุดและกะเทาะออกไปด้วย

 **หอไตรเสากลม
 เป็นหอคอนกรีตใต้ถุนสูงมีขนาดกว้าง  ๖  เมตร  ยาว  ๖ เมตร สูง  ๑๑  เมตร  มีเสาปูนกลมเรียง ๔  แถว  แถวละ  ๔ ต้น  รวม  ๑๖ ต้น  สูงต้นละ  ๔ เมตร  มีบัวหัวเสากลับ  ๒ ชั้น  ชั้นล่างเป็นหอระฆัง  ชั้นบนเป็นหอไตร  ให้เป็นที่เก็บรักษาพระธรรมคัมภีร์ต่างๆ หอไตรทำด้วยไม้สับแบบฝาประกน มีประตูเข้า ๑ ประตู  ทางด้านทิศใต้มีระเบียงกว้าง ๑ เมตร  เดินได้รอบมีหน้าบัน ๔ ทิศ เป็นปูนปั้น  มีช่อฟ้าใบระกา  หางหงส์  รูปนาคปูนปั้น  ทุกมุมรวม ต้น   ทิศเหนือและทิศใต้  มีลายปูนปั้นรูปพระยาครุฑจับพระยานาค  ยอดหอไตร  มียอดเรียวแหลมคล้ายยอดของพระเจดีย์ที่มียอดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง  รอบหอระฆังมีกำแพงแก้วล้อมรอบมีขนาดกว้าง  ๑  เมตร  ยาว ๑๐  เมตร  มีซุ้มประตูกำแพงแก้วทิศใต้  หอไตรวัดราชบูรณะนี้สร้างเมื่อปีใด  ไม่ปรากฏหลักฐาน  หากพิจารณาตามรูปแบบสถาปัตยกรรมแล้วสันนิษฐานว่า  หอพระไตรนี้คงมีอายุระหว่าง ๗๐ - ๑๐๐ ปี

***โรงเรียนพระปริยัติธรรม  (หอไตรไม้)
โรงเรียนพระปริยัติธรรมหลังนี้สร้างเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน แต่หากพิจารณาตามรูปแบบของสถาปัตยกรรมแล้วสันนิษฐานว่า น่าจะมีอายุระหว่าง  ๗๐ - ๑๐๐  ปี

***เรือรับเสด็จสมัยรัชกาลที่ ๕ 
 รัชกาลที่ ๕  เสด็จประพาสเมืองพิษณุโลกเมื่อ รศ. ๑๒๐ นมัสการพระพุทธชินราชและเสด็จไปประพาสสถานที่ต่างๆ และเยี่ยมเยียนพสกนิกรของพระองค์ได้ทรงเรือลำนี้เป็นเรือพระที่นั่งแทนเรือพระที่นั่งที่มาจากเมืองหลวง (บางกอก)
เมื่อปี  ๒๕๒๗  ทหารค่ายสฤษณ์เสนา  ได้มาพัฒนาวัดราชบูรณะ  ใช้ทหาร  ๓๐๐ นาย  พัฒนาสามวันสามคืน  ได้ขุดเอาเรือพระที่นั่งรับเสด็จลำนี้ขึ้นมา  ทำการบูรณะซ่อมแซม  และได้จัดตั้งไว้กลางลานวัดหน้ากุฏิไม้ในปัจจุบัน  (เดิมเรือพระที่นั่งรับเสด็จลำนี้  จมดินเหลือแต่ท้ายเรือเท่านั้นที่พ้นดิน)  ต่อมา  เมื่อปี ๒๕๓๓ ฉลอง ๔๐๐ ปี  ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทางศึกษาธิการจังหวัดพิษณุโลก  ได้มาอันเชิญเรือพระที่นั่งรับเสด็จสมัย ร. ๕ ลำนี้  ไปทำการบูรณะซ่อมแซมอีกครั้ง  และได้นำลงแม่น้ำน่านเป็นครั้งแรก  ซึ่งไม่เคยนำลงน้ำมาเป็นเวลานับร้อยปี  เพื่อฉลองครบรอบ  ๔๐๐ ปี  ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ในนามเรือ  "พระยาจีนจัตุรัส"  หลังจากนั้น  ได้อันเชิญขึ้นมาไว้ที่วัดราชบูรณะดังเดิมจนถึงปัจจุบัน (นายทองหล่อและนางลั่นทม บำรุงไทย ได้สร้างที่เก็บเรือไว้เป็นอนุสรณ์)
 
***พระบรมสารีริกธาตุวัดราชบูรณะ
 รมศิลปากรได้ขุดค้นเจดีย์หลวงวัดราชบูรณะ เพื่อจะทำการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่  ได้ขุดค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ ที่บรรจุไว้ในคอระฆังของเจดีย์-หลวง   ซึ่งบรรจุอยู่ในผอบ และเจดีย์จำลองเล็กๆ  ที่ทำจากทองสำริด    ซึ่ง ทางวัดจึงได้นำไปให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชาที่ศาลาการเปรียญ และในขณะนี้วัดราชบูรณะกำลังดำเนินการก่อสร้างมณฑปเพื่อประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุให้พุทธศาสนิกชนได้สักการบูชา