พระเสาหลักเมือง จังหวัดน่าน

ได้ไปเที่ยวจังหวัดน่านเมื่อในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ชอบบรรยากาศที่แตกต่างจากบรรยากาศของจังหวัดที่มีแบบแผนเปลี่ยนเป็นสังคม คอนกรีตที่จะเห็นได้ทั่วไปตามจังหวัดต่างๆ ที่น่านนี้ในตัวอำเภอเมืองจะเห็นความเป็นอยู่ที่มีกลิ่นอายที่เรียกว่าเป็น วัฒนธรรมของคนเมืองแบบเก่าที่มองเห็นและรู้สึกได้จากรูปแบบอาคาร และความเรียบง่าย ที่อยู่อาศัยไม่เห็นสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่สูงๆ ส่วนที่เป็นรั้วหรือกำแพงจะเป็นรูปแบบไม่สูงและจะคล้ายๆ ดูเป็นเอกลักษณะที่น่าประทับใจอีกรูปแบบหนึ่ง และได้รู้ว่าเมืองนี้กำลังจะมีการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก(ถ้าเข้าใจหรือใช้คำ ผิด-ขออภัยด้วยค่ะ) จะลงภาพสถานที่ที่ได้ไปชมมา แต่ไม่ครบทุกแห่งค่ะ เพราะมีเวลาน้อยมาก

พระเสาหลักเมือง
ซุ้มหลังคาพระเสาหลักเมือง

หอพระเสาหลักเมือง
 เสาหลักเมืองของจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ภายใน “วัดมิ่งเมือง” อำเภอเมือง จังหวัดน่าน โดยชาวท้องถิ่นเรียกเสาหลักเมืองว่า เสามิ่ง หรือเสามิ่งเมือง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัดมิ่งเมือง
โบสถ์วัดพระเสาหลักเมือง

พญานาคข้างซุ้มทางเข้าโบสถ์
ประวัติ
 เสามิ่งเมืองของจังหวัดน่าน สร้างขึ้นโดยสมเด็จเจ้าฟ้าอัตถะวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 57 โปรดให้ฝังเสาพระหลักเมืองน่านต้นปัจจุบันนี้เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2331 ณ สถานที่ที่ทรงเสี่ยงทาย เป็นที่อยู่ข้างวัดร้างเก่าซึ่งตั้งอยู่ห่างจากหอคำ (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 350 เมตร โดยผู้รู้สันนิษฐานว่าวัดร้างนี้คือวัดห้วยไคร้ อันมีมาแต่ครั้งสมัยสุโขทัย
     
       แต่เดิมเสามิ่งเมืองมีลักษณะเป็นไม้สักทองขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 ซ.ม. สูงประมาณ 3 ม. หัวเสาเกลาเป็นรูปดอกบัวตูม ตัวเสาฝังลงกับพื้นโดยตรงไม่มีศาลครอบ จนกระทั่งในปี 2506 เมืองน่านได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ แม่น้ำน่านไหลเข้าท่วมถึงเสามิ่งเมือง ตัวเสาอายุร้อยกว่าปีที่เริ่มผุกร่อนจึงโค่นล้มลง
     
       ต่อมาทางวัดมิ่งเมืองพร้อมด้วยประชาชนชาวน่านจึงได้ร่วมกันนำ เสามิ่งเมืองน่านต้นเดิมที่โค่นล้มลงนั้นมาเกลาแต่งใหม่ และสลักหัวเสาเป็นพระพรหมสี่หน้า รวมทั้งสร้างศาลทรงไทยจตุรมุขครอบเสามิ่งเมืองขึ้นเป็นครั้งแรก ในครั้งนั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงเป็นองค์ประธานประกอบพิธีตั้งเสาหลักเมืองน่าน เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2516
ภายในโบสถ์ วัดมิ่งเมือง

วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน

ได้ไปเที่ยวจังหวัดน่านเมื่อในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ชอบบรรยากาศที่แตกต่างจากบรรยากาศของจังหวัดที่มีแบบแผนเปลี่ยนเป็นสังคมคอนกรีตที่จะเห็นได้ทั่วไปตามจังหวัดต่างๆ ที่น่านนี้ในตัวอำเภอเมืองจะเห็นความเป็นอยู่ที่มีกลิ่นอายที่เรียกว่าเป็นวัฒนธรรมของคนเมืองแบบเก่าที่มองเห็นและรู้สึกได้จากรูปแบบอาคาร และความเรียบง่าย ที่อยู่อาศัยไม่เห็นสิ่งก่อสร้างสมัยใหม่สูงๆ ส่วนที่เป็นรั้วหรือกำแพงจะเป็นรูปแบบไม่สูงและจะคล้ายๆ ดูเป็นเอกลักษณะที่น่าประทับใจอีกรูปแบบหนึ่ง และได้รู้ว่าเมืองนี้กำลังจะมีการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก(ถ้าเข้าใจหรือใช้คำผิด-ขออภัยด้วยค่ะ) จะลงภาพสถานที่ที่ได้ไปชมมา แต่ไม่ครบทุกแห่งค่ะ เพราะมีเวลาน้อยมาก

วัดภูมินทร์

พระพรหม ภายในโบสถ์วัดภูมินทร์
ถนนหน้าวัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์

ส่วนหางพญานาค อยู่ทิศตรงข้ามกับส่วนหัวมองจากด้านนอกโบสถ์
ธรรมาสน์ ในโบสถ์วัดภูมินทร์

หัวพญานาค มองจากด้านในโบสถ์