นิยายกับละครทีวี






วนิดา
ออกอากาศ : ละครเวที, ละครทีวี

ตีพิมพ์ในนิตยสาร : วารสารศัพท์
บทประพันธ์ : วรรณสิริ
อ้างอิง :    www.dek-d.com, Wikipedia,
ดูละครวนิดา ที่นี่



เคยเป็นละครเวที ละครโทรทัศน์ ละครวิทยุ และภาพยนตร์มาแล้วหลายครั้ง นับจาก หม่อมหลวงรุจิรา อิศรางกูร (ณ อยุธยา) รับบท พ.ต.ประจักษ์ บนเวทีศาลาเฉลิมนคร ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ตามด้วยหนังสี 16 มม.ของ บริษัทละโว้ภาพยนตร์ ในปี พ.ศ. 2496 นำแสดงโดย รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง และ สมยศ อินทรกำแหง (ทั้งคู่เป็นญาตฺกัน)





เป็นละครโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2523 ทางช่อง 5 นำแสดงโดย สมภพ เบญจาธิกุล กับ พรพรรณ เกษมมัสสุ จนถึงละครฉบับที่โด่งดังมากในปี พ.ศ. 2534 ลลิตา ปัญโญภาส แสดงคู่กับ ศรัณยู วงศ์กระจ่าง

พ.ศ. 2553 สร้างใหม่เป็นละครทางช่อง 3 โดยโด่งดังและได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก บทโทรทัศน์โดย ปณธี กำกับการแสดงโดย ยุทธนา ลอพันธ์ไพบูลย์ ดำเนินงานสร้างโดย บริษัท ละครไท จำกัด เจษฎาภรณ์ ผลดี รับบท พ.ต. ประจักษ์ และทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ รับบท วนิดา




 สี่แผ่นดิน
ออกอากาศ : ละครเวที, ละครโทรทัศน์
บทประพันธ์ : มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
อ้างอิง : วิกิพิเดีย, พันธ์ทิพย์ดอทคอม, 5Nok.com,
ดูละคร สี่แผ่นดิน2534  คลิกที่นี่ >  part1/2 , part 2/2 (จบ)
นักแสดง : จินตหรา สุขพัฒน์, ฉัตรชัย เปล่งพานิช >>


สี่แผ่นดิน (Four Reigns) เป็นนวนิยายของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของไทย มีเนื้อหาอิงประวัติศาสตร์ไทยในช่วงสมัย รัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 8 นับเป็นนวนิยายที่ มีชื่อเสียงมากที่สุดเล่มหนึ่งของไทย ได้รับการยกย่องให้เป็นวรรณกรรมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นเรื่องราวของพลอย (ในละครเรียกว่า แม่พลอย) ซึ่งมีชีวิตในช่วงรัชกาลที่ 5 - รัชกาลที่ 8 โดยผู้ประพันธ์ได้เขียนเรื่องราวทีละตอนลงหนังสือพิมพ์สยามรัฐ โดยมิได้อาศัยโครงเรื่องแต่อย่างใด เพียงทบทวนความเดิมจากตอนที่แล้วก็เขียนต่อไปได้ทันที ผู้ประพันธ์เคยให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่าเมื่อได้ให้ชีวิตกับตัวละครในเรื่อง ที่เขียนแล้ว ตัวละครแต่ละตัวก็เหมือนมีชีวิตเป็นของตัวเอง ผู้ประพันธ์เป็นเพียงคนถ่ายทอดเรื่องราวของชีวิตตัวละครเหล่านั้นออกมา

บทละครโทรทัศน์และละครเวที 
1.ละครโทรทัศน์ ออกอากาศ ณ สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรม พ.ศ. 2504 
นักแสดง : อาคม มกรานนท์, สุพรรณ บูรณพิมพ์ (แม่พลอยวัยชรา), สุธัญญา ศิลปเวทิน (แม่พลอยวัยสาว)


2.ละครเวที พ.ศ. 2516  สร้างเป็นละครเวที (นักศึกษา) โดย ยุทธนา มุกดาสนิท  เปิดการแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2516 ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บัตรจองล่วงหน้าเต็มทุกรอบ มีผู้จองบัตรเป็นแถวยาวออกมานอกประตูมหาวิทยาลัยด้านท่าพระจันทร์ ประสบความสำเร็จอย่างสูงจนมีเสียงเรียกร้องให้กลับมาอีก
นักแสดง : สุวัฒนา ชมบุญ รับบท แม่พลอย, สุพัตรา นาคะตะ รับบท แม่ช้อย, สวัสดิ์ มิตรานนท์ รับบท เพิ่ม, สมชาย อนงคณะตระกูล รับบท อั้น ฯลฯ

3.ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2517 - 2518 ออกอากาศ ณ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง5 
นักแสดง : ประพาศ สกุลตนาค, พัชรา ชินพงสานนท์

4.ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2523 ออกอากาศ ณ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง5
นักแสดง : ภิญโญ ทองเจือ, นันทวัน เมฆใหญ่
 
5.ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2534 ออกอากาศ ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 3 
นักแสดง : ฉัตรชัย เปล่งพานิช , จินตหรา สุขพัฒน์
 6.ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2546 ออกอากาศ ณ โมเดิร์นไนน์
นักแสดง : ธีรภัทร์ สัจจกุล, สิริยากร พุกกะเวส
7.ละครเวที พ.ศ. 2554 จัดแสดง ณ โรงละครเมืองไทยรัชดาลัย เธียร์เตอร์
นักแสดง : เกรียงไกร อุณหนันท์ , สินจัย เปล่งพานิช


 
เรือนมยุรา 2540
ออกอากาศ : ทีวีช่อง 3
บทประพันธ์ : แก้วเก้า
นักแสดง : ฉัตรชัย เปล่งพานิช, แคทรียา แมคอินทอช
อ้างอิงจากเว็ปไซต์ > ละคร108.com, plynoi.exteen.com/
ดูละคร เรือนมยุรา >> คลิกที่นี่


โครงเรื่อง
 นกยูง บุตรสาวแสนสวยของพระยาเทพสงคราม ซึ่งจะออกไปรบกับข้าศึกและผู้ชายทั้งหมดออกไปรบ จึงได้ร่ายอาคมผนึกทั้งบ้านไว้ ทั้งกำบังไม่ให้คนเห็นและผนึกกาลเวลาในบ้านให้เดินช้ากว่าปกติ และกำชับบุตรสาวและบริวารที่มีแต่ผู้หญิงไม่ให้ออกจากบริเวณบ้านเด็ดขาดโดยจัดเตรียมอาหารไว้ในบ้านสำหรับเวลาสองปี

แต่เวลาผ่านไปเกือบสองปี(ในเรือนไทย)  บิดาไม่กลับมาสักที เสบียงก็จะหมด นกยูงจึงต้องฝืนคำสั่งบิดาออกมาข้างนอก และพบว่าเวลาข้างนอกเปลี่ยนไปเป็นยุคที่ไม่ใช่อย่างเดิม (กว่า 200 ปี)

และเมื่อเวลาผ่านไปสเบียงอาหารบนบ้านก็เริ่มหมด ทำให้แม่นายนกยูงต้องตัดสินใจออกมาจากบ้านอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้นกยูงได้พบกับคุณพระนาย (ยุคปัจจุบัน)
การออกมาครั้งนี้นกยูงนกยูงประสบอุบัติเหตุไม่ได้กลับเข้าบ้านทำให้อาคมเสื่อม นกยูงสำริดแตกหลุดออกจากกันในที่สุด และไม่สามารถกลับไปใช้อาคมกำบังอย่างเดิมได้ทำให้บ้านเรือนไทยในสมัยอยุธยาทั้งหลัง โผล่ขึ้นกลางดงไม้ อย่างน่าอัศจรรย์ใจ ทำให้นกยูงได้พบกับผู้คนปัจจุบันมากมาย


ความรักของหนุ่มสาวต่างยุค และนกยูงสำริด ในวังวนของคำมั่นสัญญา กับมนต์กฤตยา เมื่อความโลภและกิเลศชักจูงให้ผู้คนจำนวนหนึ่งมาพบกัน จนก่อให้เกิดความวุ่นวายและอุปสรรค แต่เพราะคุณธรรมอันเคร่งครัด รวมทั้งความมั่นความซื่อสัตย์ ทำให้ นกยูง และ พระนาย พบรักที่สมหวังในที่สุด(ทมยันตี)


ตัวละคร
แม่นกยูง (แคทรียา แมคอินทอช)  ::ตัวแสดงใช้แสียง และกิริยาได้เหมาะกับบทมาก ทั้งยังมีความน่ารักซ่อนอยู่ในตัว (#ความเห็นและความชอบส่วนตัว)
*สวย สวยมาก (ในเรื่องบรรยายว่าสวยจนละสายตาไม่ได้ สวยที่สุด) กิริยามารยาทเรียบร้อย มีสง่าราศีมาก แต่เวลาไม่อยู่ในสายตาบ่าวไพร่ ขี้อ้อนช่างเอาอกเอาใจแสนซนใช่เล่น
*ลักษณะนิสัยบางข้อ : มีค่านิยม ความเชื่อ และทุกๆ เป็นแบบอย่างของคนในยุค 200 ปีที่แล้ว (ตามเนื้อเรื่อง - ไม่แปลกที่จะยังปรับตัวกับยุคสมัยใหม่ไม่ได้เท่าไหร่)



  



ทวิภพ 2537
บทประพันธ์ : ทมยันตี
ออกอากาศ ทีวีช่อง 7
นักแสดง : ศรัญญู วงศ์กระจ่าง, สีเรียม ภักดีดำรงฤทธิ์
ภาพจากเว็ป PANTIP.COM : A10909993 [Spoil]
ดูละคร ทวิภพ 2537 >> คลิกที่นี่




เรื่องย่อ

นำเสนอเรื่องราวของความรักต่างภพ ระหว่างอดีตและปัจจุบันมาบรรจบกัน โดยมีเรื่องของประวัติศาสตร์บ้านเมืองมาเกี่ยวข้องด้วย

โครงเรื่อง
มณีจันทร์ หรือ เมณี่ นางเอกของเรื่องเป็นบุตรีของ เอกอัครราชทูตไทย ที่บิดามารดาต้องไปอยู่ต่างบ้านต่างเมือง ตัว "เมณี่" เองได้ซื้อกระจกบานหนึ่งมาและต่อมาได้พบว่ากระจกบานนั้น สามารถพาเธอย้อนกลับอดีตไปในยุคของ รัชกาลที่ 5 ได้ และได้โผล่ไปที่เรือนของ " คุณหลวง อัครเทพวรากร" ข้าหลวงประจำกรมเจ้าท่า



มณีจันทร์ก็ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทำไมเธอจึงเดินทางข้ามกาลเวลามาที่นี่ นอกเหนือจากที่จะมาพบกับเนื้อคู่ที่แท้จริงในอดีตแล้ว ยังต้องมาช่วยกอบกู้สถานการณ์ของประเทศสยามซึ่งกำลังอยู่ในช่วงคับขัน ที่ทั้งประเทศ "ฝรั่งเศส" และประเทศ "อังกฤษ" ซึ่งอยู่ในยุคล่าอาณานิคม กำลังจะเอาประเทศสยามเป็นแดนกันชน และลงท้ายจะแบ่งแยกประเทศออกโดยเอาแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแดนปักปันเขต

 กระจกซึ่งเป็นประตูเชื่อมกลางเวลาจะมีรอยร้าวเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เธอผ่าน เข้าออก มันจะต้องแตกลงในวันหนึ่ง นั่นหมายถึงว่าเธอจะไม่สามารถเดินทางข้ามผ่านเวลาได้อีกต่อไป และเมื่อวันนั้นมาถึง มณีจันทร์จะตัดสินใจเช่นไร ระหว่างการอยู่ในภพอดีตกับคุณหลวง ผู้ที่รักเธอสุดหัวใจ หรือการกลับไปยังภาพที่เธอจากมา กลับไปเป็น "เมนี่" สาวทันสมัยแห่งโลกปัจจุบัน ที่มีแม่ผู้เป็นที่รักรอคอยอยู่

 บทประพันธ์เรื่องนี้ดีมากให้ทั้งความรู้ส่วนหนึ่งด้านประวัติของไทยและยังคงรักษาวัฒนธรรม กิริยา มารยาท การพูดจาตามแบบของความเป็นหญิงไทยให้เห็นแม้เวลาจะต่างกันแต่ก็ยังคงเป็นสิ่งที่สวยงามสำหรับสตรีควรมี ความเป็นปัจจุบันของหญิงไทยยังคงมีอยู่(จริงๆ) ไม่ใช่แต่อ้างว่ายุคสมัยเปลี่ยนกิริยาของหญิงไทยทุกคนต้องเปลี่ยนไป ต้องบอกว่ามณีจันทร์ได้รับการอบรมมาดีที

ในด้านการผลิตออกมาเป็นละครโทรทัศน์ ต้องขอชมว่าดีทั้งหมดคือ ผู้กำกับ ผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ นักแสดง ฉาก เสื้อผ้า-หน้-ผม ก็แต่งออกมาได้ดีไม่ฉูดฉาดหรือขัดตา ยกให้เป็นละครอมตะ เรื่องหนึ่ง (#ความชอบส่วนตัว)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น